ประวัติและความเป็นมา
เมืองกื้ดเดิมมีชื่อว่า “เมืองงืด” เพราะตามตำนานได้กล่าวไว้ว่า มีช้างป่าโขลงหนึ่งมาหากินที่ลำน้ำแม่แตงคือบริเวณเมืองกื้ดในปัจจุบัน ช้างป่าโขลงนี้ไปหากินที่ตามบริเวณโขดหินและมีช้างจำนวนหนึ่งเหยียบโขดหินที่มีความลื่นทำให้ช้างเหล่านั้นพลัดตกลงไปในลำน้ำแม่แตง ช้างเหล่านั้นได้หายไปกับสายน้ำโดยไม่พบล่องลอยของช้างเหล่านั้น สถานที่แห่งนี้จึงได้ชื่อว่า “งืด” และหมู่บ้านที่อยู่บริเวณนั้นจึงได้ชื่อว่าเมืองงืดปัจจุบันได้เปลี่ยนมาเป็นเมืองกื้ด เมืองกื้ดเป็นเมืองโบราณ เข้าใจว่าสร้างโดยเจ้าเมืองในสมัยนั้นประมาณว่าสร้างรุ่นเดียวกับเมืองเชียงใหม่ เมืองพร้าว เมืองแหง คือประมาณ ๖๐๐-๗๐๐ ปีล่วงเลยมาแล้ว
คนเฒ่าคนแก่เล่าให้ฟังว่า ประวัติบ้านเมืองกื้ด เดิมสร้างโดยเจ้าเมือง ๓ เมือง (ไม่ทราบชื่อ) ได้ไปเที่ยวป่าบังเอิญมาเจอกันจึงได้ชวนกันสร้างหมู่บ้านให้ชื่อว่า “เมืองงืด” ซึ่งน่าจะแปลว่าความบังเอิญและเรียกต่อๆกันว่า เมืองกื้ด
อุ้ยเปา ปูริกาอายุ ๘๑ ปี ( ๒๕๔๙ ) ให้สัมภาษณ์ว่าเริ่มแรกมีผู้อาศัยอยู่ในเมืองกื้ดประมาณ ๖ หลังคาเรือน อันได้แก่อุ้ยอิน อุ้ยหนานปัญญา พ่อหน้อยใจ๋ ปู่หนานมูล ปู่อ้ง และ อุ้ยหนานใจ๋ค่า ซึ้งได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ราบลุ่มใกล้ลำน้ำแตงในแต่ละปีจะย้ายบ้านสูงขึ้นเรื่อยๆเนื่องจากในฤดูน้ำหลากน้ำท่วมบ้านเรือนจึงทำให้บริเวณของหมู่บ้านมีขนาดขยายใหญ่ขึ้นและมีผู้คนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆส่วนใหญ่อพยพมาจากถิ่นอื่นและยังเล่าต่อไปอีกว่าการเดินทางต้องใช้วิธีการเดินทางด้วยเท้าเปล่าซึ้งต้องใช้เวลาเดินทางหลายวันถนนหนทางก็แสนจะลำบากเนื่องจากบริเวณโดยรอบเป็นภูเขาและป่าไม้
พ.ศ.๒๔๑๗ พระเจ้าอินทรวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๗ ได้มีคำสั่งให้คนเมืองกื้ด จำนวน ๕๐ คนไปดูแลรักษาด่านเมืองแหง (ขณะนั้นเมืองแหงเป็นเมืองร้างและเป็นช่องทางค้าขายกับพม่าคือช่องทางหลักแต่ง) เพื่อคุ้มครองผู้เดินทางค้าขาย และปราบปรามโจรผู้ร้าย
“ เมืองกื้ด ” เป็นที่มาของคำว่า ตำบลกื้ดช้าง เคยเป็นสถานที่พักของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชครั้งยกกองทัพไปตีเมืองอังวะ ส่วนคำว่า “กื้ด” มาจากภาษาไทยพื้นบ้าน หมายถึงแปลกประหลาด งง สงสัย ด้วยลำน้ำแม่แตงที่ไหลผ่านมาถึงบริเวณเมืองกื้ด แม่น้ำทั้งสายไหลผ่านลอดก้อนหินขนาดใหญ่หายไปแล้วทะลุอีกด้านหนึ่งหายออกไปประมาน ๕๐ เมตร จากคำบอกเล่าของนายเขื่อนแก้ว คมพร ว่าตำบลเมืองกื้ดเคยเป็นสถานที่พักของกองทัพสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นเส้นทางเดินทัพเมื่อครั้งยกกองทัพจะไปตีเมืองอังวะ ซึ่งสอดคล้องกับเอกสารจากการศึกษาค้นคว้าของนายชัยยง ไชยศรี ว่ากองทัพพระนเรศวรมหาราชได้มาพักทัพคืนที่ ๓ ณ เมืองกื้ด แม่น้ำแม่แตง (น้ำลั่นกื้ด) วันพฤหัสบดี ที่ ๑๔ แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๕
ในปี พ.ศ.๒๔๓๕ หมู่ ๑ บ้านเมืองกื้ด เคยเป็นสถานที่ตั้งของแขวงอยู่ที่บ้านเมืองกื้ด เรียกว่า “ แขวงเมืองกื้ด ” ซึ่งมีขุนกื้ดคีรีวงค์ เป็นผู้ปกครองในสมัยนั้น
บ้านเมืองกื้ดเท่าที่ทราบมีผู้ปกครองได้แก่
๑. เจ้าพ่อขุนธนูทอง เป็นผู้ปกครองดูแลเมืองกื้ดสมัยขึ้นกับเมืองเชียงใหม่
๒. เจ้าขุนกื้ดคีรีวงค์ เป็นผู้ปกครองแขวงเมืองกื้ด พ.ศ. ๒๔๓๕
(แขวงตั้งอยู่บริเวณโรงเรียนบ้านเมืองกื้ด เป็นแขวงได้ ๒ ปี จากนั้นย้ายไปบ้านวังแดง พ.ศ.๒๔๓๗)
๓. แสนคำเขื่อนขั้น จอมคีรีเมฆ (แสนไชย) เป็นผู้ปกครองเมืองกื้ด
(ปกครองทั้งเมืองกื้ด บ้านช้างดังปรากฏในค่าวว่า “เมืองกื้ดบ้านช้าง กิ๋นน้ำบ่อไหล ลูกน้องแสนไชย คอปอตกปล้อง” หมายความว่า เมืองกื้ดและบ้านช้างดื่มน้ำแม่แตงจนคอพอก เพราะสมัยก่อนไม่มีเกลือไอโอดิน)
๔. พ่อใหม่ อินศิริ เป็นกำนันตำบลเมืองกื้ด
๕. พ่อเมา อาจหาญ เป็นกำนันตำบลเมืองกื้ด
๖. พ่อเหมย กาวิชัย เป็นกำนันตำบลกื้ดช้าง พ.ศ. ๒๔๖๐ – ๒๕๑๔
( เปลี่ยนจากตำบลเมืองกื้ด มาเป็นตำบลกื้ดช้าง ประมาณ พ.ศ.๒๕๐๐ )
๗. พ่ออ้าย อินต๊ะ เป็นกำนันตำบลกื้ดช้าง พ.ศ. ๒๕๑๖ – ๒๕๓๒
๘. นายอนุพงษ์ อินต๊ะ เป็นกำนันตำบลกื้ดช้าง พ.ศ. ๒๕๓๒ – ๒๕๓๙
๙.นายประสิทธิ์ อินต๊ะ เป็นกำนันตำบลกื้ดช้าง พ.ศ. ๒๕๔๐ – ปัจจุบัน
ปัจจุบันตำบลกื้ดช้างมีเขตปกครองอยู่ ๘ หมู่บ้าน
๑. บ้านเมืองกื้ด หมู่ ๑
๒. บ้านแม่ตะมาน หมู่ ๒
๓. บ้านสบก๋าย หมู่ ๓
๔. บ้านต้นขาม หมู่ ๔
๕. บ้านห้วยน้ำดัง หมู่ ๕
๖. บ้านทุ่งละคร หมู่ ๖
๗. บ้านป่าข้าวหลาม หมู่ ๗
๘. บ้านผาปู่จอม หมู่ ๘
คนเฒ่าคนแก่เล่าให้ฟังว่า ประวัติบ้านเมืองกื้ด เดิมสร้างโดยเจ้าเมือง ๓ เมือง (ไม่ทราบชื่อ) ได้ไปเที่ยวป่าบังเอิญมาเจอกันจึงได้ชวนกันสร้างหมู่บ้านให้ชื่อว่า “เมืองงืด” ซึ่งน่าจะแปลว่าความบังเอิญและเรียกต่อๆกันว่า เมืองกื้ด
อุ้ยเปา ปูริกาอายุ ๘๑ ปี ( ๒๕๔๙ ) ให้สัมภาษณ์ว่าเริ่มแรกมีผู้อาศัยอยู่ในเมืองกื้ดประมาณ ๖ หลังคาเรือน อันได้แก่อุ้ยอิน อุ้ยหนานปัญญา พ่อหน้อยใจ๋ ปู่หนานมูล ปู่อ้ง และ อุ้ยหนานใจ๋ค่า ซึ้งได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ราบลุ่มใกล้ลำน้ำแตงในแต่ละปีจะย้ายบ้านสูงขึ้นเรื่อยๆเนื่องจากในฤดูน้ำหลากน้ำท่วมบ้านเรือนจึงทำให้บริเวณของหมู่บ้านมีขนาดขยายใหญ่ขึ้นและมีผู้คนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆส่วนใหญ่อพยพมาจากถิ่นอื่นและยังเล่าต่อไปอีกว่าการเดินทางต้องใช้วิธีการเดินทางด้วยเท้าเปล่าซึ้งต้องใช้เวลาเดินทางหลายวันถนนหนทางก็แสนจะลำบากเนื่องจากบริเวณโดยรอบเป็นภูเขาและป่าไม้
พ.ศ.๒๔๑๗ พระเจ้าอินทรวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๗ ได้มีคำสั่งให้คนเมืองกื้ด จำนวน ๕๐ คนไปดูแลรักษาด่านเมืองแหง (ขณะนั้นเมืองแหงเป็นเมืองร้างและเป็นช่องทางค้าขายกับพม่าคือช่องทางหลักแต่ง) เพื่อคุ้มครองผู้เดินทางค้าขาย และปราบปรามโจรผู้ร้าย
“ เมืองกื้ด ” เป็นที่มาของคำว่า ตำบลกื้ดช้าง เคยเป็นสถานที่พักของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชครั้งยกกองทัพไปตีเมืองอังวะ ส่วนคำว่า “กื้ด” มาจากภาษาไทยพื้นบ้าน หมายถึงแปลกประหลาด งง สงสัย ด้วยลำน้ำแม่แตงที่ไหลผ่านมาถึงบริเวณเมืองกื้ด แม่น้ำทั้งสายไหลผ่านลอดก้อนหินขนาดใหญ่หายไปแล้วทะลุอีกด้านหนึ่งหายออกไปประมาน ๕๐ เมตร จากคำบอกเล่าของนายเขื่อนแก้ว คมพร ว่าตำบลเมืองกื้ดเคยเป็นสถานที่พักของกองทัพสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นเส้นทางเดินทัพเมื่อครั้งยกกองทัพจะไปตีเมืองอังวะ ซึ่งสอดคล้องกับเอกสารจากการศึกษาค้นคว้าของนายชัยยง ไชยศรี ว่ากองทัพพระนเรศวรมหาราชได้มาพักทัพคืนที่ ๓ ณ เมืองกื้ด แม่น้ำแม่แตง (น้ำลั่นกื้ด) วันพฤหัสบดี ที่ ๑๔ แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๕
ในปี พ.ศ.๒๔๓๕ หมู่ ๑ บ้านเมืองกื้ด เคยเป็นสถานที่ตั้งของแขวงอยู่ที่บ้านเมืองกื้ด เรียกว่า “ แขวงเมืองกื้ด ” ซึ่งมีขุนกื้ดคีรีวงค์ เป็นผู้ปกครองในสมัยนั้น
บ้านเมืองกื้ดเท่าที่ทราบมีผู้ปกครองได้แก่
๑. เจ้าพ่อขุนธนูทอง เป็นผู้ปกครองดูแลเมืองกื้ดสมัยขึ้นกับเมืองเชียงใหม่
๒. เจ้าขุนกื้ดคีรีวงค์ เป็นผู้ปกครองแขวงเมืองกื้ด พ.ศ. ๒๔๓๕
(แขวงตั้งอยู่บริเวณโรงเรียนบ้านเมืองกื้ด เป็นแขวงได้ ๒ ปี จากนั้นย้ายไปบ้านวังแดง พ.ศ.๒๔๓๗)
๓. แสนคำเขื่อนขั้น จอมคีรีเมฆ (แสนไชย) เป็นผู้ปกครองเมืองกื้ด
(ปกครองทั้งเมืองกื้ด บ้านช้างดังปรากฏในค่าวว่า “เมืองกื้ดบ้านช้าง กิ๋นน้ำบ่อไหล ลูกน้องแสนไชย คอปอตกปล้อง” หมายความว่า เมืองกื้ดและบ้านช้างดื่มน้ำแม่แตงจนคอพอก เพราะสมัยก่อนไม่มีเกลือไอโอดิน)
๔. พ่อใหม่ อินศิริ เป็นกำนันตำบลเมืองกื้ด
๕. พ่อเมา อาจหาญ เป็นกำนันตำบลเมืองกื้ด
๖. พ่อเหมย กาวิชัย เป็นกำนันตำบลกื้ดช้าง พ.ศ. ๒๔๖๐ – ๒๕๑๔
( เปลี่ยนจากตำบลเมืองกื้ด มาเป็นตำบลกื้ดช้าง ประมาณ พ.ศ.๒๕๐๐ )
๗. พ่ออ้าย อินต๊ะ เป็นกำนันตำบลกื้ดช้าง พ.ศ. ๒๕๑๖ – ๒๕๓๒
๘. นายอนุพงษ์ อินต๊ะ เป็นกำนันตำบลกื้ดช้าง พ.ศ. ๒๕๓๒ – ๒๕๓๙
๙.นายประสิทธิ์ อินต๊ะ เป็นกำนันตำบลกื้ดช้าง พ.ศ. ๒๕๔๐ – ปัจจุบัน
ปัจจุบันตำบลกื้ดช้างมีเขตปกครองอยู่ ๘ หมู่บ้าน
๑. บ้านเมืองกื้ด หมู่ ๑
๒. บ้านแม่ตะมาน หมู่ ๒
๓. บ้านสบก๋าย หมู่ ๓
๔. บ้านต้นขาม หมู่ ๔
๕. บ้านห้วยน้ำดัง หมู่ ๕
๖. บ้านทุ่งละคร หมู่ ๖
๗. บ้านป่าข้าวหลาม หมู่ ๗
๘. บ้านผาปู่จอม หมู่ ๘
ประวัติวัดเมืองกื้ด
สถานที่ตั้ง
วัดเมืองกื้ด เลขที่ ๕๐ หมู่ ๑ บ้านเมืองกื้ด ตำบลกื้ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดคณะสงฆ์ มหานิกาย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๓๔ ขึ้นทะเบียนเป็นวัด พ.ศ. ๒๔๗๕ ที่ดินตั้งวัดตาม ส ค.๑ เลขที่ ๑ มีเนื้อที่ - ไร่ ๒ งาน ๕๒ ตารางวา อาณาเขตวัดติดต่อกับสถานที่ต่างๆ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดกับที่ดินทำกินเอกชน
ทิศใต้ ติดกับถนน
ทิศตะวันออก ติดกับทุ่งนา
ทิศตะวันตก ติดกับภูเขา
ประวัติความเป็นมา
เมืองกื้ดเป็นเมืองโบราณ เข้าใจว่าน่าจะสร้างโดยเจ้าเมืองเชื้อสายลั๊วะหรือละว้า ประมาณว่าสร้างรุ่นเดียวกับ เมืองเชียงใหม่ เมืองพร้าว เมืองแหง คือประมาณ ๖๐๐ - ๗๐๐ ปีล่วงมาแล้ว
วัดเมืองกื้ดได้ถูกสร้างขึ้นโดยเจ้าเมืองสมัยนั้น เพื่อเป็นการดำรงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนา แต่จะสร้างขึ้นปีใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด ในคราวที่ทำการบูรณะวิหารหลังเก่า (พ.ศ.๒๕๓๒) มีจารึกว่าสร้างในปี พ.ศ. ๒๒๘๒ โดยได้จารึกไว้ในไม้กระดานเป็นอักษรขอม แต่ปัจจุบันได้สูญหายไปแล้ว เจ้าอาวาสองค์หนึ่งที่ปกครองวัดเมืองกื้ด ในยุคสมัยที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงทำศึกกับพม่าเพื่อขับไล่พม่าออกไปจากแผ่นดินไทยนั้น เรียกว่าครูบาพรหมมหาปัญญา (ครูบาหน้อย) เล่ากันว่าครูบารูปนี้ได้ปรารภธรรมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราชในคราวที่พระองค์เสด็จขึ้นไปเมืองแหง และได้ทรงเสี่ยงทายปลูกต้นโพธิ์กับครูบาพรหมมหาปัญญา โดยพระองค์ทรงปลูกไว้ที่หน้าวัดเมืองกื้ด ในปัจจุบันต้นโพธิ์ยังคงอยู่ ซึ่งสอดคล้องกับเอกสารจากการศึกษาค้นคว้าของนายชัยยง ไชยศรี ว่ากองทัพสมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้มาพักทัพคืนที่ ๓ ณ เมืองกื้ด แม่น้ำแม่แตง วันพฤหัสบดี ที่ ๑๔ แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๕ และพระองค์ อาจจะได้ทรงสั่งให้บูรณะวัดเมืองกื้ดด้วยก็เป็นได้ หลังจากนั้นพระองค์ก็ทรงยกทัพเสด็จตามฝั่ง ลำน้ำแม่แตงขึ้นไปถึงเมืองคอง เมืองแหง และทรงสวรรคต ในปี พ.ศ.๒๑๔๘
จากหลักฐานที่พบในพระวิหารหลังเก่าจารึกว่าสร้างปี พ.ศ.๒๒๘๒ คาดว่าน่าจะมีผู้มาบูรณะวัดและอาจจะจารึก ปี พ.ศ. ที่ทำการบูรณะก็เป็นได้ ซึ่งจากหลักฐานที่ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จสวรรคตนั้นตรงกับ พ.ศ.๒๑๔๘ และที่พระองค์ทรงปลูกต้นโพธิ์ไว้ยังเห็นเป็นรูปร่างอยู่ ดังนั้นคาดว่าวัดเมืองกื้ดน่าจะสร้างก่อนปี พ.ศ.๒๑๔๘
วัดเมืองกื้ด เลขที่ ๕๐ หมู่ ๑ บ้านเมืองกื้ด ตำบลกื้ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดคณะสงฆ์ มหานิกาย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๓๔ ขึ้นทะเบียนเป็นวัด พ.ศ. ๒๔๗๕ ที่ดินตั้งวัดตาม ส ค.๑ เลขที่ ๑ มีเนื้อที่ - ไร่ ๒ งาน ๕๒ ตารางวา อาณาเขตวัดติดต่อกับสถานที่ต่างๆ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดกับที่ดินทำกินเอกชน
ทิศใต้ ติดกับถนน
ทิศตะวันออก ติดกับทุ่งนา
ทิศตะวันตก ติดกับภูเขา
ประวัติความเป็นมา
เมืองกื้ดเป็นเมืองโบราณ เข้าใจว่าน่าจะสร้างโดยเจ้าเมืองเชื้อสายลั๊วะหรือละว้า ประมาณว่าสร้างรุ่นเดียวกับ เมืองเชียงใหม่ เมืองพร้าว เมืองแหง คือประมาณ ๖๐๐ - ๗๐๐ ปีล่วงมาแล้ว
วัดเมืองกื้ดได้ถูกสร้างขึ้นโดยเจ้าเมืองสมัยนั้น เพื่อเป็นการดำรงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนา แต่จะสร้างขึ้นปีใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด ในคราวที่ทำการบูรณะวิหารหลังเก่า (พ.ศ.๒๕๓๒) มีจารึกว่าสร้างในปี พ.ศ. ๒๒๘๒ โดยได้จารึกไว้ในไม้กระดานเป็นอักษรขอม แต่ปัจจุบันได้สูญหายไปแล้ว เจ้าอาวาสองค์หนึ่งที่ปกครองวัดเมืองกื้ด ในยุคสมัยที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงทำศึกกับพม่าเพื่อขับไล่พม่าออกไปจากแผ่นดินไทยนั้น เรียกว่าครูบาพรหมมหาปัญญา (ครูบาหน้อย) เล่ากันว่าครูบารูปนี้ได้ปรารภธรรมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราชในคราวที่พระองค์เสด็จขึ้นไปเมืองแหง และได้ทรงเสี่ยงทายปลูกต้นโพธิ์กับครูบาพรหมมหาปัญญา โดยพระองค์ทรงปลูกไว้ที่หน้าวัดเมืองกื้ด ในปัจจุบันต้นโพธิ์ยังคงอยู่ ซึ่งสอดคล้องกับเอกสารจากการศึกษาค้นคว้าของนายชัยยง ไชยศรี ว่ากองทัพสมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้มาพักทัพคืนที่ ๓ ณ เมืองกื้ด แม่น้ำแม่แตง วันพฤหัสบดี ที่ ๑๔ แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๕ และพระองค์ อาจจะได้ทรงสั่งให้บูรณะวัดเมืองกื้ดด้วยก็เป็นได้ หลังจากนั้นพระองค์ก็ทรงยกทัพเสด็จตามฝั่ง ลำน้ำแม่แตงขึ้นไปถึงเมืองคอง เมืองแหง และทรงสวรรคต ในปี พ.ศ.๒๑๔๘
จากหลักฐานที่พบในพระวิหารหลังเก่าจารึกว่าสร้างปี พ.ศ.๒๒๘๒ คาดว่าน่าจะมีผู้มาบูรณะวัดและอาจจะจารึก ปี พ.ศ. ที่ทำการบูรณะก็เป็นได้ ซึ่งจากหลักฐานที่ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จสวรรคตนั้นตรงกับ พ.ศ.๒๑๔๘ และที่พระองค์ทรงปลูกต้นโพธิ์ไว้ยังเห็นเป็นรูปร่างอยู่ ดังนั้นคาดว่าวัดเมืองกื้ดน่าจะสร้างก่อนปี พ.ศ.๒๑๔๘
สิ่งก่อสร้างภายในวัด
๑. อุโบสถ ทรงล้านนา ( แต่เดิมเป็นวิหาร ภายหลังบูรณะเป็นอุโบสถ )
๒. วิหาร สร้าง พ.ศ. ๒๕๒๙
๓. พระธาตุก้าวหน้ามหามงคลคีรี ศรีเมืองกื้ด สร้าง พ.ศ.๒๕๕๑
๔. ราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สร้าง พ.ศ.๒๕๕๑
๕. ศาลาเอนกประสงค์ สร้าง พ.ศ. ๒๕๔๖
๖. ศาลาบาตร สร้าง พ.ศ. ๒๕๑๙
๗. กุฏิ สร้าง พ.ศ.๒๕๓๗
๘. โรงครัว – หอฉัน สร้างพ.ศ.๒๕๕๐
๙. ห้องน้ำ สร้าง พ.ศ.๒๕๔๒
๑๐. ที่ทำการผู้สูงอายุ / ที่ทำการกองทุนหมู่บ้านสร้าง พ.ศ.๒๕๔๙
๑๑. โรงเก็บของ สร้าง พ.ศ.๒๕๔๑
๑๒. แทงค์น้ำ ปะปาภูเขา โบราณวัตถุของวัดเมืองกื้ด
๑. พระพุทธรูปปางมารวิชัย พระประธานในอุโบสถก่ออิฐปูนหน้าตักกว้าง ๔๖ นิ้ว สูง ๑๘๐ นิ้ว
๒. พระสิงห์ ๓ จำนวน ๒ องค์ หน้าตักกว้าง ๒๔ นิ้ว
๓. พระปิ่น สูง ๕๕ เซนติเมตร หน้าตักกว้าง ๑๒ นิ้ว
๔. สัตภัณฑ์
๕. เครื่องราชกกุภัณฑ์( ไม่สมบูรณ์ )
๖. หีบธรรม
๗. ปราสาทพระ ( ไม่สมบูรณ์ )
๑. อุโบสถ ทรงล้านนา ( แต่เดิมเป็นวิหาร ภายหลังบูรณะเป็นอุโบสถ )
๒. วิหาร สร้าง พ.ศ. ๒๕๒๙
๓. พระธาตุก้าวหน้ามหามงคลคีรี ศรีเมืองกื้ด สร้าง พ.ศ.๒๕๕๑
๔. ราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สร้าง พ.ศ.๒๕๕๑
๕. ศาลาเอนกประสงค์ สร้าง พ.ศ. ๒๕๔๖
๖. ศาลาบาตร สร้าง พ.ศ. ๒๕๑๙
๗. กุฏิ สร้าง พ.ศ.๒๕๓๗
๘. โรงครัว – หอฉัน สร้างพ.ศ.๒๕๕๐
๙. ห้องน้ำ สร้าง พ.ศ.๒๕๔๒
๑๐. ที่ทำการผู้สูงอายุ / ที่ทำการกองทุนหมู่บ้านสร้าง พ.ศ.๒๕๔๙
๑๑. โรงเก็บของ สร้าง พ.ศ.๒๕๔๑
๑๒. แทงค์น้ำ ปะปาภูเขา โบราณวัตถุของวัดเมืองกื้ด
๑. พระพุทธรูปปางมารวิชัย พระประธานในอุโบสถก่ออิฐปูนหน้าตักกว้าง ๔๖ นิ้ว สูง ๑๘๐ นิ้ว
๒. พระสิงห์ ๓ จำนวน ๒ องค์ หน้าตักกว้าง ๒๔ นิ้ว
๓. พระปิ่น สูง ๕๕ เซนติเมตร หน้าตักกว้าง ๑๒ นิ้ว
๔. สัตภัณฑ์
๕. เครื่องราชกกุภัณฑ์( ไม่สมบูรณ์ )
๖. หีบธรรม
๗. ปราสาทพระ ( ไม่สมบูรณ์ )
ลำดับเจ้าอาวาสตั่งแต่อดีตถึงปัจจุบัน เท่าที่ทราบคือ
๑. ครูบากัณฑารขะ (ครูบาขาว) ประมาณ พ.ศ. ๒๐๕๐ - ๒๑๐๙
๑. ครูบาพรหมมหาปัญญา (ครูบาหน้อย ) ประมาณ พ.ศ. ๒๑๑๐ - ๒๑๖๐
๒. ครูบาพรมเสน ประมาณ พ.ศ. ๒๓๗๐-๒๔๑๐
๓. ครูบาหลวงอินต๊ะ ประมาณ พ.ศ. ๒๔๑๐ - ๒๔๗๖
๔. พระอรุณ อรุโณ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๓ - ๒๕๐๐
๕. พระตั๋น ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๐ - ๒๕๐๓
๖. พระตั๋นพาน ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๓ - ๒๕๐๙
๗. พระชัย ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๙ - ๒๕๑๓
๘. พระอธิการจันทร์แก้ว อินทวณฺโณ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๓ - ๒๕๑๙
๙. พระทัย ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๙ - ๒๕๒๐
๑๐. พระจันทร์ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๐ - ๒๕๒๑
๑๑. พระสม สุภโร ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๑ - ๒๕๒๔
๑๒. พระมา ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๔ - ๒๕๒๖
๑๓. พระสกล อภินนฺโท ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๖ - ๒๕๒๗
๑๔. พระอธิการสุรพล ปทุมวณฺโณ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๗ - ๒๕๓๗
๑๕. พระคำ สีสํวโร ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๗ - ๒๕๓๙
๑๖. พระมินทร์ตา กตธมฺโม ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๙ – ๒๕๕๐
๑๗. พระถา รตนวณฺโณ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๐ – ปัจจุบัน
๑. ครูบากัณฑารขะ (ครูบาขาว) ประมาณ พ.ศ. ๒๐๕๐ - ๒๑๐๙
๑. ครูบาพรหมมหาปัญญา (ครูบาหน้อย ) ประมาณ พ.ศ. ๒๑๑๐ - ๒๑๖๐
๒. ครูบาพรมเสน ประมาณ พ.ศ. ๒๓๗๐-๒๔๑๐
๓. ครูบาหลวงอินต๊ะ ประมาณ พ.ศ. ๒๔๑๐ - ๒๔๗๖
๔. พระอรุณ อรุโณ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๓ - ๒๕๐๐
๕. พระตั๋น ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๐ - ๒๕๐๓
๖. พระตั๋นพาน ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๓ - ๒๕๐๙
๗. พระชัย ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๙ - ๒๕๑๓
๘. พระอธิการจันทร์แก้ว อินทวณฺโณ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๓ - ๒๕๑๙
๙. พระทัย ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๙ - ๒๕๒๐
๑๐. พระจันทร์ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๐ - ๒๕๒๑
๑๑. พระสม สุภโร ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๑ - ๒๕๒๔
๑๒. พระมา ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๔ - ๒๕๒๖
๑๓. พระสกล อภินนฺโท ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๖ - ๒๕๒๗
๑๔. พระอธิการสุรพล ปทุมวณฺโณ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๗ - ๒๕๓๗
๑๕. พระคำ สีสํวโร ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๗ - ๒๕๓๙
๑๖. พระมินทร์ตา กตธมฺโม ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๙ – ๒๕๕๐
๑๗. พระถา รตนวณฺโณ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๐ – ปัจจุบัน
หลวงปู่ทวดครูบาพรมมาแห่งวัดเมืองกื้ด
ยิ่งข้าพเจ้า เดินทางไปวัดเมืองกื้ดบ่อยครั้งเท่าใด ก็พบเรื่องราวแสนมหัศจรรย์ ข้ามภพ ข้ามชาติ ข้ามกาลเวลา มีเหตุ มีผล มีประจักษ์พยานทางบุคคล และที่สำคัญก็คือประจักษ์พยานทางวัตถุ
บางครั้งคิดว่าควรปิดเรื่องราวเอาไว้ก่อน แต่อีกความคิดหนึ่งก็ฉุกคิดขึ้นมาว่า ชีวิตคนเรานั้นไม่จีรังยั่งยืน ข้าพเจ้าจะถึงแก่ความตายในวันนี้ หรือวันพรุ่งนี้ก็อาจจะเป็นไปได้ แล้วสิ่งต่างๆที่ข้าพเจ้ารับรู้มา แต่ปกปิดเก็บเอาไว้โดยไม่ได้เผยแพร่ให้คนอื่นได้รับรู้รับทราบ ข้อเท็จจริงเหล่านั้นก็จะตายตามตัวข้าพเจ้าไป
ดังนั้นข้าพเจ้าจึงตัดสินใจที่จะบอกเล่าเรื่องราวสุดแสนพิสดารเหล่านั้นให้ท่านพินิจพิจารณาเอาเอง ข้าพเจ้าขอมอบเอกสิทธิ์ให้ท่านเป็นผู้ทรงสิทธิ์ในการพิจารณาตัดสินในข้อเท็จจริงเหล่านี้...
จากเรื่องราวที่ได้พบ ณ วัดเมืองกื้ด ประมวลเรียบเรียงได้ดังนี้..
พ.ศ.๒๑๔๘ ณ วัดเมืองกื้ด มีอริยสงฆ์รูปหนึ่งนามว่า"หลวงปู่ทวดครูบาพรมมา" และในปีนั้น สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกรีฑาทัพ ผ่านเมืองกื้ด เพื่อจะบุกโจมตี พระเจ้าอังวะ และแล้ววันหนึ่งขณะที่พระองค์แรมทัพ ณ เมืองกื้ดอยู่นั้น ได้นมัสการ "หลวงปู่ทวดครูบาพรมมา" พระองค์เลื่อมใสศรัทธาในความเป็นอริยสงฆ์ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ทรงสร้างเสนาสนะถวาย และทรงปลูกต้นโพธิ์ไว้ ๑ ต้น และ"หลวงปู่ทวดครูบาพรมมา" ปลูกต้นโพธิ์ไว้อีก ๑ ต้น (ปัจจุบันต้นโพธิ์ยังคงปรากฏอยู่ ณ วัดเมืองกื้ด)
...อีก ๔๐๐ ปีต่อมา(ประมาณ พ.ศ. ๒๕๓๐) พระอธิการสุรพล เป็นเจ้าอาวาสวัดเมืองกื้ด ...ค่ำคืนหนึ่งฝนกระหน่ำเทลงมา ฟ้าแลบส่องแสงแปลบปลาบเป็นระยะๆ พร้อมๆ กับเสียงฟ้าร้องลั่นคำรามกึกก้องสนั่นทั่วทั้งเมืองกื้ด ภายในกุฎิวัดเมืองกื้ด โยมผู้ชายราว ๕ คนกำลังนั่งสนทนากับเจ้าอาวาส ท่ามกลางแสงเทียนที่ริบหรี่ โอนเอนไปมาตามกระแสแรงลม
...ฉับพลัน...เจ้าอาวาสวัด ได้เปลี่ยนกลับกลายเป็น"หลวงปู่ทวดครูบาพรมมา" ร่างกายโค้งงอเหมือนผู้สูงอายุ น้ำเสียงสั่นพร่า เป็นสำเนียงคนโบราณ ว่า " ข้าได้นำของมีค่าไปฝังดินไว้ในวัดนี้ ให้ทุกคนไปขุดกันเดี๋ยวนี้ ...ท่านเดินกระย่องกระแย่ง ลงจากกุฏิวัดไปในความมืด ท่ามกลางเสียงฟ้าร้องครวญคราง .ส่วนญาติโยมทั้ง ๕ คนต่างรีบกุลีกุจอหาจอบ หาเสียม เดินตามหลังหลวงปู่ฯไปตรงเนินชายป่า และเดินขึ้นบนเนินนั้นซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ ๗๐ เมตร
..หลวงปู่ฯชี้มือ และพูดเสียงดังว่า " ขุดตรงนี้แล้วจะพบของสำคัญนั้น" โยมทั้ง ๕ คน ต่างผลัดกันขุดดินปนหินกรวด ลึกลงไป.. ลึกลงไป.. จนความลึกถึงระดับประมาณเอวคน (๑ เมตรกว่า) ก็บังเกิดความมหัศจรรย์
....พบโลหะวัตถู หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ ความยาวประมาณ ๑ คืบกว่า มันคือ อาวุธแห่งองค์เทพยดา มีลักษณะคล้ายมีดสั้น ปลายแหลมเหมือนหอก หรือที่เรียกกันโดยสามัญว่า "มีดหมอ" และใกล้ๆกันนั้นก็พบโลหะวัตถุ ชิ้นที่ ๒ ทำด้วยทองสัมฤทธิ์ ....มันคือ"กริช"อาวุธสั้นในระยะประชิดตัว ของนักรบโบราณ เข้ามาแพร่หลายในสุวรรณภูมิเมื่อครั้งอดีตกาล
